โหมดเอาชีวิตรอด (อังกฤษ: Survival mode) เป็นหนึ่งในโหมดเกมหลักของ Minecraft โดยผู้เล่นจะต้องเก็บรวบรวมทรัพยากร สร้างสิ่งปลูกสร้าง ต่อสู้กับม็อบ จัดการความหิว และสำรวจโลก ด้วยความพยายามที่จะก้าวหน้าและมีชีวิตอยู่ต่อไป
ในรุ่น Bedrock, ผู้เล่นจะได้รับภารกิจความสำเร็จ (achievement) ก็ต่อเมื่ออยู่ในโลกที่ไม่ใช่โลกแบน ตั้งค่าโหมดเอาชีวิตรอด ปิดสูตรโกง และปิดสิทธิพิเศษของโฮสต์ (host privileges) ผู้เล่นจะไม่ได้รับความสำเร็จ ถ้าผู้เล่นสร้างโลกขึ้นมาใหม่ แล้วตั้งค่าโหมดเกมเป็นโหมดสร้างสรรค์ และสลับไปเป็นโหมดเอาชีวิตรอดในภายหลังนั้น จะไม่สามารถทำให้ผู้เล่นมีสิทธิเข้าถึงในการทำภารกิจความสำเร็จ
การเล่นเกม[]
ในโหมดเอาชีวิตรอด ผู้เล่นจะมีช่องเก็บของเป็นที่เอาไว้เก็บไอเทมต่างๆ ซึ่งไอเทมเหล่านี้อาจจะได้มาจากสูตรบางอย่าง เพื่อที่จะสร้างเครื่องมือและไอเทมต่าง ๆ โดยที่กระบวนการนี้เรียกว่า การคราฟต์ โดยสูตรการคราฟต์ส่วนใหญ่นั้นจะต้องใช้โต๊ะคราฟต์ แต่บางไอเทมก็ไม่สามารถได้มาจากการคราฟต์ปกติและต้องใช้เตาเผาสำหรับกระบวนการนี้ สถาณที่คราฟต์นั้นมีอยู่หลากหลายชนิด สำหรับการใช้งานขั้นสูง เช่น การปรุงยา, การซ่อมแซม และการร่ายมนตร์
ในโหมดเอาชีวิตรอด ผู้เล่นสามารถได้รับดาเมจจากสิ่งแวดล้อมและจากม็อบที่ไม่เป็นมิตร (เว้นแต่จะเล่นในระดับความยากปลอดภัย) ถ้าผู้เล่นได้รับดาเมจที่มากพอ ผู้เล่นจะตาย และกลับไปเกิดยังจุดเกิด (Spawn point)
ถ้าการใช้คำสั่งถูกเปิด ผู้เล่นจะสามารถเปลี่ยนเป็นโหมดเอาชีวิตรอดได้โดยใช้คำสั่ง /gamemode survival
เป้าหมาย[]
แม้ว่าจะมีการวางตลาดว่าเป็นเกมที่ไม่มีการกำหนดเป้าหมายก่อนเล่น แต่ Minecraft ก็มีสิ่งโครงสร้างพื้นฐานที่สำหรับออกให้ค้นหา ในขณะที่มุ่งมั่นในการสร้างและขยายที่อยู่อาศัย ผู้เล่นก็จะเก็บไอเทมที่หลากหลายและทรัพยากรด้วย เพื่อที่จะเพิ่มความสามารถของตัวเอง, การโจมตี และการป้องกัน ด้วยไอเทมที่หลากหลายที่สามารถเข้าถึงได้กันและกัน และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้เล่นจะเดินทางไปยังมิติอื่นเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของเกม
ผู้เล่นสามารถไปถึง "จุดสิ้นสุดที่แท้จริง" ในโหมดเอาชีวิตรอดได้โดยการจัดการกับมังกรเอนเดอร์ แต่นั้นก็ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการเล่น; มันจะให้ไอเทมรางวัลต่าง ๆ (ไข่มังกร), ค่าประสบการณ์เป็นจำนวนมาก และจะได้พบกับบทกวีเอนด์ และพาออกจากมิติดิเอนด์ และยังเป็นการเพื่อที่จะเปิดประตูมิติที่จะพยาผู้เล่นไปสำรวจเกาะชั้นนอกของดิเอนด์ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามมันก็ยังบอสทางเลือกอีกด้วย นั่นคือวิทเธอร์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ในช่วงกลางถึงปลายเกม อีกทั้งผู้เล่นก็ยังสามารถกำหนดเป้าหมายในแบบของตัวเองได้ด้วย; หนึ่งในเป้าหมายทั่ว ๆ ไป คือการพิชิตความสำเร็จทั้งหมดภายในเกม
เอาชีวิตรอดแบบผู้เล่นคนเดียว (SSP)[]
เอาชีวิตรอดแบบผู้เล่นคนเดียว (Survival single-player) เป็นโหมดเกมพื้นฐานและเริ่มต้นของ Minecraft การเอาชีวิตรอดแบบผู้เล่นคนเดียวอาจจะสามารถเล่นในโหมดออนไลน์หรืออฟไลน์ก็ได้ ตราบใดที่ผู้เล่นเล่นเกมอย่างน้อยหนึ่งครั้งเพื่อให้สามารถดาวน์โหลดไฟล์เกมลงในคอมพิวเตอร์ได้
เอาชีวิตรอดแบบหลายผู้เล่น (SMP)[]
เอาชีวิตรอดแบบหลายผู้เล่น (Survival multiplayer) จะอนุญาตให้ผู้เล่นหลายคนเชื่อมต่อเข้ามายังใจกลางเซิร์ฟเวอร์ Minecraft นี่จะช่วยให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ และทำงานด้วยกัน (หรือต่อสู้กัน) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเอาชีวิตรอดของพวกเขา
วิดีโอ[]
ประวัติ[]
รุ่น Java Classic | |||||
---|---|---|---|---|---|
0.24 | เริ่มต้นทดสอบโหมดเอาชีวิตรอด ซึ่งไม่มีหลอดเลือด แต่จะเป็นการทดสอบการจัดการทรพยากร | ||||
0.24_03 | เลือดได้ถูกเพิ่มเข้ามา ม็อบได้รับดาเมจเมื่อถูกตี | ||||
0.24 SURVIVAL TEST | เพิ่มโหมดเอาชีวิตรอดใน Survival Test ในช่วงเวลานั้น การตายเป็นสิ่งที่ถาวร หมายความว่าผู้เล่นจะไม่สามารถเกิดใหม่ได้และโลกจะถูกรีเซ็ต เว้นแต่จะมีการบันทึกไฟล์นั้น | ||||
จนกระทั่งช่วงกลาง Alpha เอาชีวิตรอดแบบผู้เล่นคนเดียวเป็นโหมดที่มีอยู่อย่างเดียว นอกเหนือจากโหมดสร้างสรรค์แบบ Classic | |||||
รุ่น Java Indev | |||||
0.31 | 0.31 (29 มกราคม 2010) | เพิ่มการคราฟต์ | |||
รุ่น Java Infdev | |||||
March 27, 2010 | การตายไม่เป็นสิ่งที่ถาวรแล้ว; ในตอนนี้ผู้เล่นสามารถเกิดใหม่ได้ | ||||
รุ่น Java Alpha | |||||
v1.0.15 | เพิ่มโหมดหลายผู้เล่น (multiplayer) เดิมที Notch ได้เชิญผู้เล่นเพียงจำนวนจำกัดจากช่อง Minecraft IRC เข้าร่วมการทดสอบโหมดหลายผู้เล่น โดยที่ผู้ได้รับเชิญสามารถชวนผู้เล่นคนอื่น ๆ ต่อไปได้ อย่างไรก็ตามมีการรั่วไหลของรหัสผ่านทำให้เซิร์ฟเวอร์เต็มอย่างรวดเร็ว ต่อมา Notch จึงได้ปล่อยซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์หลายผู้เล่นรุ่นแรกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2010 ลูกค้าได้รับการอัปเดตทำให้ผู้เล่นสามารถเข้าเล่นโดยใช้ไอพีของเซิร์ฟเวอร์ | ||||
รุ่น Java | |||||
1.3.1 | โหมดผู้เล่นคนเดียวถูกยกเลิก (ในทางเทคนิค) โดยถือว่าผู้เล่นมีเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง ซึ่งผู้เล่นสามารถเปิดหรือปิดให้ผู้เล่นอื่นเข้ามาได้ทุกเวลา การปรับปรุงครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระการแก้บั๊กที่แตกต่างกันใน Minecraft ทั้งสองโหมด ซึ่งใช้งบประมาณด้านประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย | ||||
รุ่น Pocket Alpha | |||||
0.2.0 | เพิ่มโหมดเอาชีวิตรอด | ||||
0.3.0 | เพิ่มการคราฟต์ | ||||
รุ่น Legacy Console | |||||
TU1 | CU1 | 1.0 | Patch 1 | เพิ่มโหมดเอาชีวิตรอด |
ปัญหา[]
ปัญหาเกี่ยวกับ “เอาชีวิตรอด” จะถูกซ่อมแซมให้ดีขึ้นได้ที่ ติดตามปัญหา โดยที่จะต้องรายงานปัญหาที่นี่
ดูเพิ่ม[]